วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552


มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ทางราชการจัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ตามโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค พ.ศ.2501 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งอยู่ ณ ดินแดนล้านนา อันเป็นแหล่งสะสมวัฒนธรรมอันล้ำค่ามานานกว่า 700 ปี มีสภาพภูมิประเทศงดงามท่ามกลางสภาพแวดล้อมอันเป็นธรรมชาติ บริเวณเชิงดอยสุเทพ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

นับตั้งแต่มีการเรียกร้องให้ขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาออกสู่ภูมิภาค โดยขอให้รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 ในที่สุดการเรียกร้องก็สัมฤทธิ์ผลก่อให้เกิดความภูมิใจและดีใจเป็นอย่างยิ่ง แก่ชาวล้านนา

วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้น โดยกำหนดให้เปิดสอนในปีการศึกษา 2507 และให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการเตรียมการจัดตั้ง

วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2507 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 81 ตอนที่ 7 ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2507 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 วันเปิดเรียนวันแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่อย่างเป็นทางการ
วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2551 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ


หลักสูตร

ปัจจุบัน คณะเกษตรศาสตร์ ได้ทำการเปิดสอนหลักสูตรระดับต่างๆ คือ ระดับปริญญาตรี 8 หลักสูตรสาขาวิชา , ระดับปริญญาโท 13 หลักสูตรสาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 9 หลักสูตรสาขาวิชา รวม 30 หลักสูตร ดังนี้

ชื่อหลักสูตรชื่อปริญญา
ปริญญาตรีปริญญาโทปริญญาเอก
หลักสูตรสาขาวิชาเดียว
  • กีฏวิทยา
  • ปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์
  • พืชไร
  • พืชสวน
  • โรคพืช
  • ส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร
  • สัตวศาสตร์
  • เศรษฐศาสตร์เกษตร


  • วท.บ.(เกษตรศาสตร์)
    วท.บ.(เกษตรศาสตร์)
    วท.บ.(เกษตรศาสตร์)
    วท.บ.(เกษตรศาสตร์)
    วท.บ.(เกษตรศาสตร์)
    วท.บ.(เกษตรศาสตร์)
    วท.บ.(เกษตรศาสตร์)
    วท.บ.(เศรษฐศาสตร์เกษตร)

    วท.ม.(เกษตรศาสตร์)
    วท.ม.(เกษตรศาสตร์)
    วท.ม.(เกษตรศาสตร์)
    วท.ม.(เกษตรศาสตร์)
    วท.ม.(โรคพืช)
    วท.ม.(เกษตรศาสตร์)
    วท.ม.(เกษตรศาสตร์)
    วท.ม.(เศรษฐศาสตร์เกษตร)
    วท.ม.(ธุรกิจเกษตร) (ภาคพิเศษ)

    -
    วท.ด.(ปฐพีศาสตร์ฯ)
    วท.ด.(พืชไร่)
    วท.ด.(พืชสวน)
    วท.ด.(โรคพืช)
    วท.ด.(ส่งเสริมการเกษตรฯ)
    วท.ด.(สัตวศาสตร์ )
    วท.ด.(เกษตรศาสตร์เชิงระบบ)
    หลักสูตรนานาชาติ
  • เกษตรศาสตร์เชิงระบบ


  • -

    วท.ม.(เกษตรศาสตร์)
    วท.ม.(การเกษตรยั่งยืนและการจัดการลุ่มน้ำแบบบูรณาการ)

    -
    รวม8 หลักสูตร11 หลักสูตร7 หลักสูตร
    หลักสูตรสหสาขาวิชา
    (ภายใต้การดูแลของบัณฑิตวิทยาลัย)
  • เทคโนโลยีชีวภาพทางพืช
    (เกษตรศาสตร์, เภสัชศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์)
  • วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
    (เกษตรศาสตร์, วิทยาศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์)



  • -


    -


    ท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ)


    วท.ม. (วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว)


    วท.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ)


    วท.ม. (วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว)
    รวม8 หลักสูตร13 หลักสูตร9 หลักสูตร

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


    คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    239 ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง
    จังหวัดเชียงใหม่ 50200

    โทรศัพท์ :
    0-5394-4001
    โทรสาร :
    0-5394-4666
    Website :
    http://www.agri.cmu.ac.th

    ป้ายคณะเกษตรศาสตร์
    ด้านหน้าคณะเกษตรศาสตร์



    ตราสัญลักษณ์
    ตราสัญลักษณ์ภาษาไทย
    ตราสัญลักษณ์ภาษาอังกฤษ
    คณะเกษตรศาสตร์ ได้ใช้ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้เพิ่มในส่วนชื่อและสีคณะซึ่งทางสภามหาวิทยาลัยได้กำหนดตราประจำมหาวิทยาลัย เป็นรูปช้างชูคบเพลิง และมีสุภาษิตเป็นภาษาบาลีว่า “อต.ตานํ ทมยน.ติ ปณ.ฑิตา” มีความหมายว่า “บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกฝนตนเอง” อยู่ในวงล้อมรอบรูปช้าง ช้างมีท่าทางเหมือนธรรมชาติ งวงจับคบเพลิงชูขึ้นเหนือหัว เปรียบเสมือนแสงสว่างส่องทางให้นักศึกษาที่จะไปสู่ ความเจริญรุ่งเรืองต่อไป



    สีประจำคณะ
    สีประจำคณะเกษตรศาสตร์ คือ สีเหลืองข้าวโพด


    ประวัติความเป็นมา
    พ.ศ.2507 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเป็นภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร โดยสังกัดอยู่กับคณะวิทยาศาสตร์
    ด้านหน้าคณะเกษตรศาสตร์ (สมัยก่อน)
    อาคารแรกของคณะเกษตรศาสตร์ (อาคาร 08101)
    พ.ศ.2510 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นคณะตามประกาศพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2510 ให้เป็นหน่วยราชการระดับคณะ นับเป็นคณะที่ 5 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และแต่งตั้งให้ อาจารย์ ดร.สุขุม อัศเวศน์ เป็นคณบดีคนแรกของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์ ภาควิชาสัตวบาล ภาควิชาพืชศาสตร์ ภาควิชาถนอมผลิตภัณฑ์เกษตร ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร
    รูปหล่อสัมฤทธิ์ รศ.ดร.สุขุม อัศเวศน์ (คณบดีท่านแรกของคณะเกษตรศาสตร์)
    พ.ศ.2518 ภาควิชาถนอมผลิตภัณฑ์เกษตร เปลี่ยนชื่อเป็นภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และได้พัฒนาไปเป็นคณะอุตสาหกรรมเกษตรในปัจจุบัน ส่วนภาควิชาพืชศาสตร์ ได้ยุบภาควิชาและจัดตั้งเป็น ภาควิชาพืชสวน ภาควิชาพืชไร่ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร และภาควิชาอารักขาพืช
    พ.ศ.2523 ยุบภาควิชาอารักขาพืชจัดตั้งเป็นภาควิชาโรคพืช และภาควิชากีฏวิทยา
    พ.ศ.2535 ภาควิชาสัตวบาลได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นภาควิชาสัตวศาสตร์
    พ.ศ.2547 ได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 1 สำนักงานเลขานุการคณะ และ 8 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชากีฏวิทยา ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์ ภาควิชาพืชไร่ ภาควิชาพืชสวน ภาควิชาโรคพืช ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร ภาควิชาสัตวศาสตร์
    อาคารเฉลิมพระเกียรติ์ (อาคารล่าสุด)
    พ.ศ.2552 ได้หลอมรวมและแบ่งส่วนราชการเป็น 1 สำนักงานคณะ 3 ศูนย์ และ 4 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและส่งเสริมเผยแพร่การเกษตร และภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ


    พื้นที่ดูแล
    คณะเกษตรศาสตร์ มีพื้นที่ดูแลประมาณ 2,202 ไร่ โดยแบ่งเป็นสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้
    สถานที่
    มีพื้นที่
    อาคารเรียนและแปลงทดลองในบริเวณมหาวิทยาลัย
    77 ไร่
    สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ
    1,293 ไร่
    สถานีวิจัยเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน อ.เมือง
    442 ไร่
    สถานีวิจัยการเกษตรที่สูงหนองหอย อ.แม่ริม
    80 ไร่
    สถานีวิจัยการเกษตรที่สูงดอยป่าเกี๊ยะ อ.เชียงดาว
    60 ไร่
    สถานีวิจัยการเกษตรเขตชลประทาน
    50 ไร่
    ศูนย์ศึกษาและพัฒนาลำไย “หริภุญชัย”
    200 ไร่
















    แผนผังติดต่อ

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น