วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การเมืองไทย


















1.รัฐสภาไทย
รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์พระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมาย สำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐสภาจะประกอบด้วยสภาเดียว หรือสองสภา ย่อมแล้วแต่บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน บัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง

ประวัติรัฐสภาไทย
ห้องประชุมรัฐสภาไทย
พระที่นั่งอนันตสมาคม สถานที่ประชุมรัฐสภาในยุคแรกรัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชัวคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา

ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน

ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย

สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ

หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา

[แก้] ประธานรัฐสภาไทย
ดูบทความหลักที่ รายนามประธานรัฐสภาไทย
จนถึงปัจจุบัน รัฐสภาไทย มีผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา รวม 28 คน ดังนี้

1. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
28 มิถุนายน - 1 กันยายน 2475
15 ธันวาคม 2475 - 26 กุมภาพันธ์ 2476
2. เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
2 กันยายน 2475 - 10 ธันวาคม 2476
3. พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
26 กุมภาพันธ์ 2476 - 22 กันยายน 2477
6 กรกฎาคม 2486 -24 มิถุนายน 2487
ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
31 สิงหาคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2490
15 พฤษภาคม 2490 - 8 พฤศจิกายน 2490
4. เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
22 กันยายน 2477 - 15 ธันวาคม 2477
17 ธันวาคม 2477 - 31 กรกฎาคม 2478
7 สิงหาคม 2478 - 31 กรกฎาคม 2479
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
26 พฤศจิกายน 2490 - 18 กุมภาพันธ์ 2491
20 กุมภาพันธ์ 2491 - 14 มิถุนายน 2492
15 มิถุยายน 2492 - 20 พศจิกายน 2493
22 พฤศจิกายน 2493 - 29 พฤศจิกายน 2494
5. พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
3 สิงหาคม 2479 - 10 ธันวาคม 2480
10 ธันวาคม 2480 -24 มิถุนายน 2481
28 มิถุยายน 2481 - 10 ธันวามคม 2481
12 ธันวาคม 2481 - 24 มิถุนายน 2482
28 มิถุนายน 2482 - 24 มิถุนายน 2483
1 กรกฎาคม 2483 - 24 มิถุนายน 2484
1 กรกฎาคม 2484 - 24 มิถุนายน 2485
30 มิถุนายน 2485 - 24 มิถุนายน 2586
2 กรกฎาคม 2487 - 24 มิถุนายน 2488
29 มิถุนายน 2488 - 15 ตุลาคม 2488
26 มกราคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2489
6. พันตรีวิลาศ โอสถานนท์ ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
4 มิถุนายน 2489 - 24 สิงหาคม 2489
7. พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
1 ธันวาคม 2494 - 17 มีนาคม 2495
22 มีนาคม 2495 - 23 มิถุนายน 2495
28 มิถุนายน 2495 -23 มิถุนายน 2496
2 กรกฎาคม 2496 - 23 มิถุนายน 2497
29 มิถุนายน 2497 - 23 มิถุนายน 2498
2 กรกกาคม 2498 - 23 มิถุนายน 2499
30 มิถุนายน 2499 - 25 กุมภาพันธ์ 2500
16 มีนาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2500
28 มิถุนายน 2500 - 16 กันยายน 2500
27 ธันวาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2501
25 มิถุนายน 2501 - 20 ตุลาคม 2501
8. พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
20 กันยายน 2500 - 14 ธันวาคม 2500
ประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
6 กุมภาพันธ์ 2502 - 17 เมษายน 2511
9. นายทวี บุณยเกตุ ประธานรัฐสภา และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
8 พฤษภาคม2511 -20 มิถุนายน 2511
10. พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
22 กรกฎาคม 2511 - 6 กรกฎาคม 2514
7 กรกฎาคม 2514 - 17 พฤศจิกายน 2514
11. พลตรีศิริ สิริโยธิน ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
18 ธันวามคม 2515 - 11 ธันวาคม 2516
12. พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
29 ธันวาคม 2516 -7 ตุลาคม 2517
13. นายประภาศน์ อวยชัย ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
17 ตุลาคม 2517 - 25 มกราคม 2518
14. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
7 กุมภาพันธ์ 2518 -12 มกราคม 2519
15. นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
19 เมษายน 2519 - 6 ตุลาคม 2519
6 กุมภาพันธ์ 2544 - 5 มกราคม 2548
16. พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและประธานรัฐสภา
22 ตุลาคม 2519 - 20 พฤศจิกายน 2519
17. พลอากาศเอก หะริน หุงสกุล
ประธานรัฐสภา และประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
28 พฤศจิกายน 2519 - 20 ตุลาคม 2520
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
25 พฤศจิกายน 2520 - 22 เมษายน 2522
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
9 พฤษภาคม 2522 - 19 มีนาคม 2526
18. นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
26 เมษายน 2526 - 19 มีนาคม 2527
19. ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
30 เมษายน 2527 - 30 เมษายน 2528
1 พฤษภาคม 2528 - 23 เมษายน 2530
24 เมษายน 2530 - 22 เมษายน 2532
3 เมษายน 2335 - 26 พฤษภาคม 2535
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2 เมษายน 2534 - 21 มีนาคม 2535
20. ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
4 พฤษภาคม 2532 - 23 กุมภาพันธ์ 2534
21. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
28 มิถุนายน 2535 - 29 มิถุนายน 2535
22. ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
22 กันยายน 2535 - 19 พฤษภาคม 2538
23. นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
11 กรกฎาคม 2538 27 กันยายน 2538
24. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
24 พฤศจิกายน 2539 - 27 มิถุนายน 2543
25. นายพิชัย รัตตกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
30 มิถุนายน 2543 - 9 พฤศจิกายน 2543
26. นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
8 มีนาคม 2548 - 24 กุมภาพันธ์ 2549
27. นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
23 มกราคม 2551 - เมษายน 2551
28. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
15 พฤษภาคม 2551 - (ปัจจุบัน)
[แก้] อาคารรัฐสภาแห่งใหม่
วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนพื้นที่ 119 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเกียกกาย โดยจะต้องย้ายหน่วยราชการที่อยู่ในบริเวณนั้น ประกอบด้วย โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกล ขส.ทบ. และบ้านพักข้าราชการหทาร กรมราชองครักษ์ ซึ่งได้กำหนดวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551


ศาลรัฐธรรมนูญ (Constitutional Court)
เป็นองค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ยุบเลิกไป และมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดีทั่วไป

องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรวม 15 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลต่อไปนี้

1.ผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 5 คน
2.ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีการลงคะแนนลับ จำนวน 2 คน
3.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา โดยการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 5 คน
4.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา โดยการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 3 คน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งกับและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 8 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลต่อไปนี้

1.ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 3 คน
2.ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 2 คน
3.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์อย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน
4.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน
อำนาจหน้าที่ที่สำคัญของศาลรัฐธรรมนูญ คือ การพิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ของวุฒิสภา หรือของรัฐสภา ที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือพิจารณาวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญโดยที่ศาลเห็นเอง หรือคู่ความโต้แย้ง และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ตลอดจนพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ

การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญเป็นระบบไต่สวน ศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ ซึ่งแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปของศาลยุติธรรม

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ อยู่ที่ อาคารบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ เลขที่ 326 ถนนจักรเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

รายนามตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ


1.นายอุระ หวังอ้อมกลาง (ศาลฎีกา) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (13 กรกฎาคม 2549)
2.นายผัน จันทรปาน (ศาลปกครองสูงสุด)
3.นายจิระ บุญพจนสุนทร (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์)
4.นายจุมพล ณ สงขลา (ศาลฎีกา)
5.นายนพดล เฮงเจริญ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์)
6.นายปรีชา เฉลิมวณิชย์ (ศาลฎีกา)
7.นายมงคล สระฏัน (ศาลฎีกา)
8.นายมานิต วิทยาเต็ม (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์)
9.นายศักดิ์ เตชาชาญ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์)
10.พล.ต.อ สุวรรณ สุวรรณเวโช (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์)
11.นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ (ศาลฎีกา)
12.นายสุธี สุทธิสมบูรณ์ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์)
13.ศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ อัศวโรจน์ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์)
14.นายอภัย จันทนจุลกะ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์)
15.นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี (ศาลปกครองสูงสุด)
บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

นายเชาวน์ สายเชื้อ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์)
ศาสตราจารย์ ดร. โกเมน ภัทรภิรมย์ (ลาออก)
พลโทจุล อติเรก (ครบวาระ)
ศาสตราจารย์ ดร. ชัยอนันต์ สมุทวณิช (ลาออก)
นายประเสริฐ นาสกุล ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์)
นายสุจินดา ยงสุนทร (ลาออก)
นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ (พ้นจากตำแหน่ง)
ศาสตราจารย์อนันต์ เกตุวงศ์ (ครบวาระ)
ศาสตราจารย์ ดร. อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์)
ศาสตราจารย์ ดร. กระมล ทองธรรมชาติ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์)
นายสุจิต บุญบงการ (พ้นจากตำแหน่ง)
นายอมร รักษาสัตย์ (พ้นจากตำแหน่ง)

ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา ซึ่งเกิดมาจากปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีเหตุการณ์ลอบทำร้าย วางเพลิง วางระเบิด ก่อการร้าย และจลาจล เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้มีการแพร่ภาพเป็นข่าวไปทั่วโลก และมีการติดตามเหตุการณ์จากนานาชาติอย่างใกล้ชิด แต่ปัจจุบันเหตุการณ์ความไม่สงบดังกล่าวก็เริ่มเบาบางลงเรื่อยๆ จนบางช่วงเวลานั้นดูเหมือนว่าเหตุการณ์ไม่สงบในกรุงเทพมหานครนั้น จะรุนแรงกว่าทางภาคใต้เสียด้วยซ้ำไป

เหตุการณ์ทั้งหมด
[แก้] พ.ศ. 2545
30 มีนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสนอยุบ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 43 (พตท. 43)
30 เมษายน รัฐบาลมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ยุบ ศอ.บต. และ พตท. 43
[แก้] พ.ศ. 2547
4 มกราคม เกิดเหตุการณ์เผาโรงเรียน 20 แห่ง ใน จ.นราธิวาส ซึ่งเชื่อว่าเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อปล้นปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส อันมีปืนไรเฟิล 400 กระบอก ปืนพก 20 กระบอก ปืนกล 2 กระบอก การจู่โจมครั้งนี้มีทหารตาย 4 นาย และทำให้รัฐบาลเสียหน้าอย่างมาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น หัวเสียอย่างหนัก กล่าวตำหนิทหารที่ไม่ระมัดระวัง และถึงกับหลุดคำพูดว่า "ถ้าคุณมีกองทหารทั้งกองพันอยู่ที่นั้น แต่คุณก็ยังไม่ระวังตัว ถ้าอย่างนั้นก็สมควรตาย"[3]
เหตุระเบิดกลางตลาดจังหวัดปัตตานี โดยมีระเบิดทิ้งไว้ที่จักรยานยนต์
พ.ต.ท. ทักษิณ ยืนยันจะแก้ปัญหาภาคใต้แบบถอนรากถอนโคน
12 มีนาคม สมชาย นีละไพจิตร ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม ที่รับทำคดีเกี่ยวกับความมั่นคงในชายแดนใต้ ถูกลักพาตัว
28 เมษายน เกิดกรณีกรือเซะ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกระจายกันโจมตีฐานตำรวจ-ทหาร 12 จุด คนร้ายเสียชีวิต 107 ศพ บาดเจ็บ 6 คนถูกจับกุม 17 คน เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 5 นาย บาดเจ็บ 15 นาย
25 ตุลาคม เกิดกรณีตากใบ เจ้าหน้าที่สลายผู้ชุมนุมมีผู้เสียชีวิต 84 ศพ แบ่งเป็นในที่เกิดเหตุ 6 ศพ ระหว่างขนย้าย 78 คน
5 ธันวาคม โปรยนกกระดาษ 60 ล้านตัว ตามโครงการ "60 ล้านใจ สานสายใยพี่น้องใต้ ด้วยดอกไม้และนกกระดาษ" จากประชาชนไทยทั่วประเทศ
โจรใต้แจกใบปลิวในจังหวัดปัตตานีและใกล้เคียง ขู่ฆ่าประชาชนที่เก็บนกกระดาษ
[แก้] พ.ศ. 2548
8 มกราคม - ระเบิดสถานีรถไฟจังหวัดยะลา
23 กุมภาพันธ์ - ครูในจังหวัดปัตตานีขอให้รัฐบาลอนุญาตการพกปืน เพื่อป้องกันตัวจากผู้ก่อความไม่สงบ
17 มีนาคม - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส รับฟังปัญหาภาคใต้ ก่อนสรุปข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล
28 มีนาคม - นายกฯ พร้อมเผยผลสอบสวน กรณีกรือเซะและตากใบ ตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์เสนอ
17 กุมภาพันธ์ - เหตุการณ์ระเบิดคาร์บอมบ์ในตำบลสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส มีผู้เสียชีวิต 6 และบาดเจ็บมากกว่า 40 คน
3 เมษายน เกิดระเบิดพร้อมกัน 3 จุด ที่ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ หาดใหญ่, ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ และหน้าโรงแรมกรีนเวิลด์พาเลซ สงขลา
24 มิถุนายน กอบกุล รัญเสวะ ผอ.ร.ร.บ้านตือกอ อำเภอจะแนะ นราธิวาส ถูกยิงเสียชีวิต
14 กรกฎาคม - เกิดความรุนแรงในเขตเทศบาลนครยะลา โจมตีโรงไฟฟ้าในเวลากลางคืน ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย และประชาชนบาดเจ็บ 23 คน และไฟฟ้าดับทั้งเมืองเป็นเวลาหลายชั่วโมง
15 กรกฎาคม - จังหวัดยะลา เกิดเหตุระเบิด มีผู้บาดเจ็บ 4 คน และจังหวัดนราธิวาส มีเหตุการณ์ยิงกัน ครูเสียชีวิต 2 คน
16 กรกฎาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยร่าง พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548[4]
18 กรกฎาคม - รัฐบาลประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจัดตั้งตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ[5]
19 กรกฎาคม - สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสื่อหลายแขนงออกแถลงการณ์คัดค้านการออก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ[6]
21 กรกฎาคม - ยกเลิกกฎอัยการศึกในพื้นที่ จ.นราธิวาส, จ.ปัตตานี และ จ.ยะลา[7][8]
สิงหาคม มีคำขู่ฆ่าผู้เปิดร้านและทำงานในวันศุกร์
21 กันยายน- ทหารนาวิกโยธิน 2 นายจากค่ายจุฬาภรณ์ ถูกชาวบ้านกลุ่มหนึ่งในหมู่บ้านตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส รุมทำร้ายเสียชีวิต หลังจากมีการจับเป็นตัวประกันนานกว่า 19 ชั่วโมง เนื่องจากเข้าใจว่าเป็นผู้ร่วมก่อเหตุใช้อาวุธสงครามกราดยิงเข้าใส่ร้านน้ำชาใน อ.ระแงะ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 5 ราย
26 ตุลาคม คนร้ายปล้นปืนพร้อมกันใน 3 จังหวัด ได้ปืนไป 99 กระบอก แบ่งเป็นใน จ.ปัตตานี 39 กระบอก ยะลา 41 กระบอก และนราธิวาส 19 กระบอก คนร้ายตาย 1 ศพ ถูกจับได้ 1 คน ฝ่ายรัฐผู้ใหญ่บ้านและ ชรบ.เสียชีวิต 4 ศพ บาดเจ็บอีก 4 คน
2 พฤศจิกายน คนร้ายโจมตีระบบไฟฟ้าเมืองนราธิวาส ด้วยระเบิดพร้อมกัน 16 จุด ระเบิด 8 จุด
[แก้] พ.ศ. 2549
1 สิงหาคม เวลาประมาณ 20.20 น. คนร้ายลอบวางเพลิงใน จ.ปัตตานี-นราธิวาส หลายจุดพร้อมกัน วางระเบิด ทำลายทรัพย์สินและเผายางรถยนต์ แต่ไม่มีรายงานผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต[9]
31 สิงหาคม เวลา 11.20 น. เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดธนาคาร 22 จุดทั่ว จ.ยะลา มีผู้เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 30 คน[10]
4 กันยายน มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,400 คนในเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2547[11]
16 กันยายน เกิดเหตุระเบิดในเวลาไล่เลี่ยกัน 4 จุด กลางเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 5 คน บาดเจ็บมากกว่า 50 คน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศกว่า 1,000 คน ที่พักผ่อนอยู่ในโรงแรม ซึ่งตั้งอยู่ในแนวที่เกิดเหตุระเบิดมากกว่า 10 แห่ง ต่างพากันหลบหนีออกจากโรงแรม จนทำให้เกิดความโกลาหล[12]
21 กันยายน คนร้ายใช้อาวุธปืนระดมยิงใส่ชาวบ้านจนได้รับบาดเจ็บ 1 รายและเสียชีวิต 1 ราย[13]
23 กันยายน ตำรวจ 4 นาย ได้รับบาดจากระเบิดที่คนร้ายฝังไว้ที่จุดจอดรถ[14]
25 กันยายน คนร้ายประมาณ 30 คน ก่อเหตุโจมตีสถานีตำรวจที่ จ.ยะลา ทำให้ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย บาดเจ็บ 1 นาย[15]
28 กันยายน หน่วยปกป้องครูชายแดนภาคใต้ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ถูกคนร้ายใช้ระเบิดซุ่มโจมตี ทำให้ทหาร 5 นายได้รับบาดเจ็บ ทหารนายหนึ่งได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลประจำอำเภอ[16]
27 ตุลาคม คนร้ายยิงพนักงานเก็บค่าไฟของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.ยะลา อาการสาหัส[17]
28 ตุลาคม คนร้ายลงมือก่อเหตุยิง ชาวบ้านขณะกำลังออกไปกรีดยาง เสียชีวิต 1 ราย ที่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี[18]
2 พฤศจิกายน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ พร้อมคณะรัฐบาล กล่าวขอโทษต่อชาวมุสลิมกรณี "กรือเซะ-ตากใบ" ที่มีความเห็นว่ารัฐบาลที่ผ่านมาทำเกินกว่าเหตุ[19]
3 พฤศจิกายน คนร้ายดักยิงรถบรรทุกนักเรียนบนถนนสาย 410 ยะลา–เบตง บ้านพงยือไร หมู่ที่ 1 ต.บันนังสาเร็ง อ.เมือง จ.ยะลา คนขับรถบาดเจ็บสาหัส ในเวลาไล่เลี่ยกัน คนร้ายก่อเหตุยิงลูกจ้าง 3 คนของ กอ.สสส.จชต ที่บริเวณริมถนนสาย 410 ยะลา–เบตง หมู่ที่ 5 บ้านบันนังสาเร็ง อ.เมือง จ.ยะลา บาดเจ็บสาหัส[20]
3 พฤศจิกายน คนร้ายประมาณ 5 คน พร้อมอาวุธปืนสงครามครบมือ ถล่มยิงชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ที่ปฏิบัติหน้าที่ รปภ.โรงเรียนคีรีบูรณ์วัฒนา ม.5 ต.ยะต๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ[21]
4 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนอาก้ายิง รองนายกฯ อบต.บาโงสะโต เสียชีวิต[22]
4 พฤศจิกายน เกิดเหตุลอบวางเพลิงโรงเรียนอีก 3 จุด ในพื้นที่ อ.บันนังสตา คือ โรงเรียนบ้านเตาปูน ม.3 ต.บันนังสตา โรงเรียนบ้านบางลาง ม.3 ต.บาเจาะ และโรงเรียนบ้านสาคู ม.4 ต.บาเจาะ[23]
5 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงชาวบ้าน อ.บันนังสตา เสียชีวิต 1 ราย[24]
5 พฤศจิกายน ชาวบ้านใน ต.บาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา กว่า 200 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้หญิง รวมตัวเพื่อเรียกร้องให้ถอนกำลัง ตำรวจ ตชด.ที่ดูแลความปลอดภัยให้กับโรงเรียนบ้านบาเจาะ ออกจากพื้นที่ และได้ปิดถนนเส้นทางเข้าหมู่บ้าน สาเหตุมาจากมีราษฎรถูกยิงเสียชีวิต ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่[25]
5 พฤศจิกายน เจ้าหน้าที่ยอมรับข้อเสนอย้ายฐานปฏิบัติการ ตชด.ออกจากพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านพอใจและสลายการชุมนุม หลังการเจรจาเสร็จสิ้นในช่วงค่ำ เจ้าหน้าที่ทหารถูกลอบวางระเบิดเสียชีวิตทันที 2 นาย ระหว่างทางกลับจากหมู่บ้าน บริเวณถนนยะลา-เบตง ต.บันนังสาเรง อ.เมือง[26]
7 พฤศจิกายน คนร้ายลอบเผาโรงเรียนบ้านตะบิงติงงีสามัคคี บ้านบาลอบาตะ หมู่ที่ 13 ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา จ.ยะลา[27]
9 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ก่อเหตุยิงผู้รับเหมาก่อสร้าง บริเวณหน้าโรงเรียนบ้านดอนรัก หมู่ 2 บ้านดอนรัก ต.ดอนรัก จ.ปัตตานี เสียชีวิตคาที่[28]
9 พฤศจิกายน คนร้ายลอบวางระเบิดหน้าอู่ซ่อมรถ เลขที่ 83/1 ม.7 ต.บาโงสะโต อ.ระแงะ แต่โชคดีที่ระเบิดไม่ทำงาน[29]
9 พฤศจิกายน โชว์รูมรถยนต์ถูกลอบวางระเบิดพร้อมกัน 8 แห่ง ที่ อ.เมืองยะลา[30]
10 พฤศจิกายน คนร้ายขับรถตามประกบยิงชาวบ้านขณะกำลังขับรถจักรยานยนต์สามล้อพ่วงบนถนนหน้าโรงเรียนบ้านกระโด ม.1 ต.กระโด อ.ยะรัง จ.ปัตตานี[31]
10 พฤศจิกายน กลุ่มคนร้ายปาระเบิดและตามด้วยใช้อาวุธสงครามยิงถล่มฐานปฏิบัติการทหารชุด ฉก.11 ที่ยะลา[32]
11 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ขับจักรยานยนต์ประกบยิงผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านโคกสะตอ ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เสียชีวิต[33]
11 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ขับจักรยานยนต์ประกบยิงชาวบ้านปัตตานีหน้ามัสยิดอูแตกอแล ม.3 ต.เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เสียชีวิต[34]
11 พฤศจิกายน คนร้ายกว่า 10 รายบุกโจมตีฐานปฏิบัติการตชด.33 อ.ยะหา จ.ยะลา เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย[35]
12 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คนบุกเข้าบ้านพักพ่อค้ารับซื้อไม้ยาง จ.ยะลา แล้วชักปืนพกสั้นประกบยิงจนเสียชีวิต[36]
13 พฤศจิกายน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กล่าวถึงสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ขณะนี้มีความรุนแรงมากขึ้น กลายเป็นปัญหาไปถึงชาวไทยพุทธที่อยู่ในพื้นที่ จนเกรงกันว่าปัญหาจะบานปลายกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างไทยพุทธกับไทยมุสลิม พร้อมยินดีกราบเท้าขอโทษ หากทำให้เหตุการณ์ยุติ[37]
13 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงใส่พ่อ-แม่-ลูกชาวยะลาได้รับบาดเจ็บ บริเวณบนถนนสาย 410 ยะลา-เบตง หน้าสถานีอนามัย บ้านแหร ม.1 ต.บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา[38]
13 พฤศจิกายน คนร้ายก่อเหตุยิงอุซตาชโรงเรียนปอเนาะใน ต.บาลอ อ.รามัน จ.ยะลา เสียชีวิตคาที่[39]
17 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิด 2 ครั้งในเวลาไล่เลี่ยกัน หน้าร้านน้ำชาบริเวณปากซอยประชานิมิตร ถนนระแงะมรรคา ใกล้ตลาดบางนาค ในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 19 ราย และเสียชีวิต 1 ราย[40]
17 พฤศจิกายน คนร้ายใช้ จยย.ประกบยิงพ่อค้าขายไอศกรีมวอลล์วัย 52 ปีระหว่างทางเข้าหมู่บ้านที่ยะลา เสียชีวิตคาที่[41]
17 พฤศจิกายน คนร้ายจำนวน 6 คน สวมชุดดาวะห์ เข้าปล้นอาวุธปืนลูกซองจำนวน 1 กระบอก ของชุด ชรบ. ในบ้านเลขที่ 118 หมู่ 5 ต.กระโด อ.ยะรัง จ.ปัตตานี[42]
18 พฤศจิกายน คนร้ายก่อเหตุยิงนายนำ ศรีพลอย อายุ 73 ปีที่ออกไปเลี้ยงวัวกลางทุ่งใกล้บ้าน เสียชีวิตแล้วเผาศพจนไหม้เกรียมทิ้งไว้ก่อนหลบหนี[43]
18 พฤศจิกายน คนร้ายลอบยิงตำรวจ ตชด. กก.ที่ 44 ค่ายพยาลิไท อ.เมืองยะลา ระหว่างเดินทางกลับบ้านเพียงลำพัง อาการสาหัส[44]
18 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิดที่บริเวณร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ไม่มีชื่อ หมู่ที่ 1 ต.ธารโต จ.ยะลา[45]
19 พฤศจิกายน คนร้ายจำนวน 2 คน ใช้อาวุธปืนยิงใส่ชาวบ้านจำนวน 4 นัด ก่อนที่จะใช้ของมีคมฟันเข้าบริเวณลำคอ ส่งผลให้เสียชีวิตในทันที[46]
20 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิดบริเวณตลาดสดใกล้โรงแรมเกนติ้ง เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ได้รับบาดเจ็บสาหัส 18 ราย[47]
21 พฤศจิกายน ชาวบ้าน ต.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา จำนวน 3 หมู่บ้าน กว่า 200 คน ชุมนุมเรียกร้องให้ถอนกำลังทหารพราน และ ตชด.ออกจากพื้นที่[48]
22 พฤศจิกายน กลุ่มคนร้าย 7 คน จุดไฟเผาห้องเรียนในพื้นที่ ต.บาเจาะ และ ต.บันนังสตา ต่อหน้าต่อตาครูและเด็ก[49]
23 พฤศจิกายน รัฐบาลกำหนดพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ[50]
23 พฤศจิกายน คนร้ายลอบวางเพลิง โรงอาหาร ร.ร.บ้านตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส[51]
23 พฤศจิกายน คนร้ายลอบวางเพลิงเผาอาคารเรียนโรงเรียนบ้านดอนนา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี[52]
23 พฤศจิกายน กลุ่มคนร้ายลักพาตัวเจ้าหน้าที่ ตจด. 3 นายจากฐานปฏิบัติการในหมู่บ้านสันติ 1 และหมู่บ้านสันติ 2 ต.เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา จ.ยะลา[53]
23 พฤศจิกายน คนร้ายลอบยิงลูกจ้างชั่วคราวชลประทานเขื่อน จ.ปัตตานี เสียชีวิต[54]
23 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนอาก้าดักซุ่มยิงใส่ชาวบ้าน ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส เสียชีวิต[55]
23 พฤศจิกายน คนร้ายขับรถจักรยานยนต์ตามประกบยิงครูโรงเรียนบ้านดอนรัก อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เสียชีวิต[56]
24 พฤศจิกายน คนร้ายลอบเผาอาคารเรียนอนุบาล ร.ร.บ่อทอง อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เสียหายทั้งหลัง[57]
24 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ขับรถจักรยานยนต์ตามประกบยิง ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านบางเก่า หมู่ 2 ต.บางเก่า อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เสียชีวิต ส่งผลให้โรงเรียนในอำเภอหนองจิก กว่า 40 โรง ปิดการเรียนการสอน[58]
24 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิดร้านขายของชำกลางตลาดอำเภอยะหา จ.ยะลา มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 6 คน[59]
24 พฤศจิกายน คนร้ายก่อเหตุยิงเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเทศบาลนครยะลา ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์มาที่บริเวณปากทางเข้า มสธ.ยะลา ได้รับบาดเจ็บสาหัส


วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2552


วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2552 เป็นชุดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อต่อต้านและสนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งวิกฤตการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับเสรีภาพสื่อ เสถียรภาพทางการเมืองในไทย และยังสะท้อนภาพความไม่เสมอภาคและความแตกแยกระหว่างชาวเมืองและชาวชนบท[1] การละเมิดอำนาจ และผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งได้บั่นทอนการเมืองไทยมาเป็นเวลาช้านาน

ในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการเคลื่อนไหวของฝ่ายซึ่งมีความเห็นว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ควรออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล "มิตรเก่าศัตรูใหม่" จนกระทั่งลงเอยด้วยเหตุการณ์รัฐประหาร ส่งผลให้ฝ่ายทหาร นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ก้าวขึ้นสู่อำนาจและเข้ามามีบทบาททางการเมือง ส่งผลให้ไทยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร ซึ่งมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่าง พ.ศ. 2549-2550

ต่อมา ผลการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 พรรคพลังประชาชน ซึ่งถูกมองว่าเกี่ยวข้องทางผลประโยชน์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลผสม ทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเคยดำเนินการเคลื่อนไหวก่อนเหตุการณ์รัฐประหาร กลับมาชุมนุมอีกครั้งเพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวชและนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากตำแหน่ง ก่อนจะสลายการชุมนุมเมื่อมีการยุบพรรคพลังประชาชน

การเมืองพลิกขั้ว เมื่อผลการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ธันวาคม พ.ศ. 2551 ทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประธานฝ่ายค้านในสมัยรัฐบาลทักษิณ สมัครและสมชาย เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติดำเนินการชุมนุมเพื่อกดดันให้นายอภิสิทธิ์ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งวิกฤตการณ์ดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่มีทีท่าว่าจะยุติ
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองของทักษิณ ชินวัตร

ทักษิณ ชินวัตรดูเพิ่มที่ ระบอบทักษิณ, ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย และ ข้อกล่าวหาการทุจริตในโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ถูกนักวิชาการบางกลุ่มออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าอยู่ภายใต้ "ระบอบทักษิณ" คือ ไม่ใส่ใจต่อเจตนารมณ์ประชาธิปไตย ข้องเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการฉ้อราษฎร์บังหลวง[2] นอกจากนี้ยังไม่สามารถควบคุมความรุนแรงที่เกิดขึ้น จนกลายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งคำว่า "ระบอบทักษิณ" นี้เองที่สร้างความชอบธรรมในการขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประชาชนบางกลุ่ม

[แก้] ความขัดแย้งสนธิ-ทักษิณ และกรณีเมืองไทยรายสัปดาห์
ดูเพิ่มที่ เมืองไทยรายสัปดาห์
ความสัมพันธ์ระหว่างสนธิ-ทักษิณ "มีความสัมพันธ์ทั้งรักทั้งชังกันมานาน" ทั้งเคยเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจร่วมกัน และนายสนธิยังเคยสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรกอีกด้วย ความขัดแย้งระหว่างทั้งสองส่วนใหญ่เกี่ยวกับผลประโยชน์ทางธุรกิจ ก่อนที่นายสนธิจะหันมาโจมตี "เพื่อนเก่า" ของตน[3] ความขัดแย้งดังกล่าวได้ขยายตัวขึ้นเมื่อช่องโทรทัศน์ 11/1 ของนายสนธิถูกสั่งยุติการออกอากาศชั่วคราว จากการพิพาทในหนังสือสัญญากับผู้วางระเบียบของรัฐบาล[4][5]

กลางเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 ฝ่ายบริหารของอสมท. มีมติให้ระงับการออกอากาศรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวีอย่างไม่มีกำหนด[6][7] เนื่องจากนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการ ได้อ่านบทความเรื่อง "ลูกแกะหลงทาง" ซึ่งมีเนื้อหาโดยอ้อมกล่าวหารัฐบาลทักษิณและเชื่อมโยงไปถึงสถาบันเบื้องสูง นายสนธิจึงเปลี่ยนเป็นการจัดรายการนอกสถานที่แทน

[แก้] กรณีหลวงตามหาบัว
ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2548 หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน ได้ตีพิมพ์การเทศนาของหลวงตามหาบัว มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ พ.ต.ท. ทักษิณ อย่างหนัก และมีเนื้อหาส่วนหนึ่งกล่าวถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ว่ามีการใช้อำนาจ "...มุ่งหน้าต่อประธานาธิบดีชัดเจนแล้วเดี๋ยวนี้ พระมหากษัตริย์เหยียบลง ศาสนาเหยียบลง ชาติเหยียบลง..."[8] ทำให้เกิดหัวข้อโต้เถียงกันเป็นวงกว้าง เนื่องจากพระสงฆ์ควรอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง ต่อมา วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2548 พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ฟ้องหนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ เป็นเงินกว่า 500 ล้านบาท[9] แต่ก็ได้มีการถอนฟ้องหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสแนะนำโดยอ้อมเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว

[แก้] กรณีการทำบุญที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

การทำบุญที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2548นับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการได้เขียนบทความกล่าวหาว่านายกรัฐมนตรีละเมิดอำนาจของพระมหากษัตริย์ เนื่องจากการเป็นประธานในพิธีการทำบุญที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 10 เมษายน (ซึ่งโดยปกติสงวนไว้เป็นพระที่นั่งของพระมหากษัตริย์)

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ออกมาชี้แจงว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานอนุญาตให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นประธานในพิธีแล้ว[10] เช่นเดียวกับนายจักรธรรม ธรรมศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในขณะนั้น ได้สนับสนุนและอ้างว่าสำนักพระราชวังออกแบบพิธีทั้งหมด รวมทั้งการจัดตำแหน่งเก้าอี้ด้วย[11] อย่างไรก็ตาม ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ได้ระบุว่า ในวันดังกล่าวไม่มีพระบรมราชานุญาติให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นประธานในพิธีแต่อย่างใด[12]

ในวันที่ 17 พฤศจิกายน ศาลแพ่งมีคำสั่งให้นายสนธิหยุดการกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ เพิ่ม[13] ในเดือนเดียวกัน พลเอกกิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ อดีตราชองครักษ์ ได้ร้องทุกข์ต่อตำรวจในกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และนายวิษณุ เครืองามกระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในกรณีการทำบุญดังกล่าว[14] แต่ในภายหลังก็ได้ถอนฟ้อง หลังจากพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวตรัสแนะนำในเหตุการณ์ดังกล่าว

[แก้] กรณีการขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป
ดูบทความหลักที่ กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป
ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2549 ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ได้ขายหุ้นที่ครอบครองอยู่ทั้งหมดในกลุ่มบริษัทชินคอร์ป ให้แก่บริษัทเทมาเส็ก รวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 73,000 ล้านบาท[15] หรือกว่า 49.61% ของหุ้นทั้งหมด[16] ทำให้ถูกโจมตีในประเด็นด้านการได้รับการยกเว้นภาษี การปล่อยให้ต่างชาติเข้าบริหารกิจการด้านความมั่นคง รวมทั้งผลประโยชน์ทับซ้อนและการหลีกเลี่ยงภาษีกำไรส่วนทุน[17]

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ดำเนินการตรวจสอบการซื้อขายดังกล่าว โดยได้ผลสรุปเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และบุตรี พินทองทา ชินวัตร ปราศจากความผิด อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการได้พบว่าบุตรของ พ.ต.ท.ทักษิณ พานทองแท้ ชินวัตร ละเมิดกฎว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลและข้อเสนอการประมูลสาธารณะในการซื้อขายระหว่างปี พ.ศ. 2543-2545 นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบการโอนภายในโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ป แต่ก็ไม่พบการกระทำที่ผิดกฎ

[แก้] ลำดับเหตุการณ์
[แก้] การยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2549
เย็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 พ.ต.ท.ทักษิณ ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549[18] โดยให้เหตุผลว่า มีการใช้วิถีทางนอกระบอบประชาธิปไตยกดดันให้ตนลาออกจากตำแหน่ง แต่จะให้ประชาชนตัดสินว่าควรจะกลับมาดำรงตำแหน่งหรือไม่[ต้องการอ้างอิง] พรรคฝ่ายค้าน ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยและพรรคมหาชน ประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ และรณรงค์ให้ผู้ไปใช้สิทธิ์กาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน[18] อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลล์ ระบุว่ามีผู้ไม่เห็นด้วยกับการคว่ำบาตรกว่า 45.21% และเห็นด้วยเพียง 28.05%[19]

[แก้] กรณีศาลท่านท้าวมหาพรหม

ศาลท่านท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานครในช่วงเช้าของวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 นายธนกร ภักดีผล ผู้เคยมีประวัติอาการทางจิตและภาวะซึมเศร้า เข้าทำลายรูปปั้นท้าวมหาพรหมใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งในภายหลังได้ถูกชาวบ้านทุบตีจนเสียชีวิต[20] จากเหตุการณ์ดังกล่าว นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้หยิบยกมากล่าวอ้างในการชุมนุมในวันรุ่งขึ้นว่า พ.ต.ท.ทักษิณได้บงการให้เกิดการทำลายเทวรูปดังกล่าว และแทนที่เทวรูปพระพรหมด้วย "อำนาจมืด" ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้กับเขา[21] นายสนธิได้กล่าวอ้างว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ว่าจ้างนายธนกรให้กระทำการดังกล่าวผ่านทางชาแมนมนต์ดำเขมร[22] เนื่องจาก "เป็นผู้หลงใหลอยู่ในความเชื่อที่ผิด" และ "เป็นการปัดเป่าลางร้าย"[23]

บิดาของผู้เสียชีวิต นายสายันต์ ภักดีผล กล่าวว่า นายสนธิเป็น "คนโกหกคำโตที่สุดที่เคยเจอมา"[22] ส่วน พ.ต.ท.ทักษิณ มองว่าการกล่าวอ้างของนายสนธิ "บ้า" และจนถึงปัจจุบัน นายสนธิก็ยังปฏิเสธจะให้ "ข้อมูลเชิงลึก" แก่สาธารณะชนในเรื่องดังกล่าว

[แก้] การชุมนุมต่อต้านและสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ
ดูเพิ่มที่ การขับไล่ทักษิณ ชินวัตร จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
การชุมนุมเพื่อขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2547 ในช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ 1 โดยมีการรวมตัวของกลุ่มคนในนาม กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ ตามด้วยการชุมนุมปราศรัยทางการเมือง ก่อนที่จะแพร่หลายขึ้นใน พ.ศ. 2548

แต่แรงกดดันให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ลาออกจากตำแหน่ง เพิ่มขึ้นมากหลังกรณีการขายหุ้นกลุ่มชินคอร์ป โดยมีการประท้วงต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยกลุ่มชนชั้นกลางและชนชั้นสูงและนิยมกษัตริย์ ร่วมกับกลุ่มสันติอโศก ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงตามหาบัว และพนักงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งต่อต้านการแปรรูป รวมทั้งสถาบันการศึกษาและปัญญาชน

ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2549 ผู้ชุมนุมกว่า 3,000 คน ภายใต้การนำของนายสนธิ สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายคน ได้ทำการปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล และสามารถยึดอาคารได้เป็นเวลา 20 นาที ก่อนที่จะกลับมารวมตัวภายนอกและทำการประท้วงต่อไป[24]


การประกาศตัวครั้งแรกของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549การชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งสื่อไทยบางแห่งจำนวนผู้ชุมนุมไว้ถึง 100,000 คน[25] ในขณะที่การชุมนุมวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ซึ่งมีการเปิดตัวกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแกนนำอย่างเป็นทางการ หนังสือพิมพ์ไทยส่วนใหญ่ระบุจำนวนผู้ชุมนุมไว้ราว 30,000-50,000 คน ในขณะที่บีบีซี รอยเตอร์และเอเอฟพี กลับประเมินไว้เพียง 5,000-15,000 คน[26] ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ในการชุมนุมหลายครั้งถัดมาได้มีลักษณะความรุนแรงเพิ่มขึ้น ด้านประธานสำนักงานองค์การนิรโทษกรรมสากลในประเทศไทย ได้กล่าวประณามพฤติกรรมของผู้ชุมนุมที่รังควานนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์บ่อยครั้ง[27]

ในวันที่ 5 มีนาคม ผู้ชุมนุมต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ในกรุงเทพมหานครหลายหมื่นคนรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง พร้อมกับตะโกนว่า "ทักษิณ! ออกไป!"[28][29] ในวันที่ 13 มีนาคม ผู้ชุมนุมได้ย้ายไปยังเต้นท์ถาวรที่แยกสวนมิสกวัน ด้านนอกทำเนียบรัฐบาล ซึ่งได้กีดขวางการจราจรและการจัดงานกาชาดประจำปี[30]

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 3 มีนาคม กลุ่มผู้ชุมนุมสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ได้มาชุมนุมที่ท้องสนามหลวงโดยมีผู้เข้าร่วมชุมนุมจำนวนมหาศาล ซึ่งในสื่อไทยระบุไว้ถึง 200,000 คน[31] และสื่อต่างประเทศบางแห่งระบุไว้ราว 150,000 คน และนับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา กลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางมาจากภาคเหนือและภาคอีสานในรูปของคาราวานอีแต๋นและชุมนุมกันที่สวนจตุจักร[ต้องการอ้างอิง]

หนึ่งสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งใหม่ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 กลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณได้เดินขบวนไปตามย่านการค้า สถานที่ประกอบธุรกิจและอาคารสำนักงานหลายแห่งต้องปิดทำการ ซึ่งคาดการณ์ว่าก่อให้เกิดความเสียหายถึง 1.2 พันล้านบาท[ต้องการอ้างอิง] และในการชุมนุมเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ได้ก่อให้เกิดการจราจรติดขัดอย่างหนักในกรุงเทพมหานครและรบกวนการขนส่งของรถไฟฟ้า BTS อีกส่วนหนึ่ง โดยสื่อไทยคาดว่ามีผู้ร่วมชุมนุมราว 50,000 คน แต่สื่อต่างชาติประเมินไว้เพียง 5,000-30,000 คน[32][33] พฤติกรรมดังกล่าวทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง และสัดส่วนผู้ที่เห็นด้วยให้นายกรัฐมนตรีลาออก ลดลงจาก 48% เมื่อสามสัปดาห์ก่อน เหลือเพียง 26%[33]

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แสดงความต้องการให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแทรกแซงการเมือง โดยการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เพื่อยุติความขัดแย้ง เช่นเดียวกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย สภาทนายความ และสภาสื่อแห่งประเทศไทย[34][35] พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ตรัสตอบแนวคิดดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 เมษายน ว่าการกระทำเช่นนั้น "ไม่เป็นประชาธิปไตย" "เป็นความยุ่งเหยิง" และ "ไม่มีเหตุผล"[36]

[แก้] การเลือกตั้งทั่วไป เมษายน พ.ศ. 2549 และผลที่ตามมา
ดูเพิ่มที่ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2549, พระราชดำรัสพระราชทานแก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดและผู้พิพากษาศาลฎีกา (25 เมษายน พ.ศ. 2549) และ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย ตุลาคม พ.ศ. 2549

ซุ้มล่ารายชื่อเพื่อขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2549 พบว่าพรรคไทยรักไทยได้รับที่นั่งในรัฐสภาถึง 460 ที่นั่ง ด้วยคะแนนเสียง 56% ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวอ้างว่าเขาได้รับเสียงถึง 16 ล้านเสียง[37] อย่างไรก็ตาม ผู้ลงสมัครพรรคไทยรักไทยใน 38 จังหวัดเลือกตั้งภาคใต้ ซึ่งเป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ได้คะแนนเสียงไม่ถึง 20% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้งชะลอผลของการเลือกตั้ง และจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549[38][39] พรรคประชาธิปัตย์ยื่นฎีกาต่อศาลปกครองกลางให้ยกเลิกการเลือกตั้งซ่อม[40] ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นการถ่วงเวลาการเปิดประชุมสภาและขัดขวางมิให้การจัดตั้งรัฐบาลเสร็จทันกำหนดที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ[41] เช่นเดียวกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กล่าวว่า "การชุมนุมจะยังคงมีต่อไปจนกว่าประเทศไทยจะมีนายกรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้ง"[42]

เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2549 พ.ต.ท.ทักษิณ ประกาศจัดตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยอิสระเพื่อแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง พร้อมกับออกตัวว่า เขายอมลาออก หากคณะกรรมการดังกล่าวมีคำแนะนำเช่นนั้น[43] แต่พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่เข้าร่วมกับคณะกรรมการดังกล่าว และในวันรุ่งขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณ ออกมาแถลงไม่เข้ารับการสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง โดยให้เหตุผลว่า เพื่อสร้างความสมานฉันท์และความปรองดองในชาติ[44] ต่อมา พ.ต.ท.ทักษิณ ลาราชการและแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เฉลิมฉลองในวันที่ 7 เมษายน และประกาศว่าการกำจัดระบอบทักษิณเป็นเป้าหมายต่อไป[41][45]

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสแก่ผู้พิพากษาอาวุโสโดยแสดงพระราชประสงค์ให้มีการดำเนินการทางตุลาการเพื่อยุติความขัดแย้งทางการเมือง เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8-6 เสียง ให้เพิกถอนการเลือกตั้งและจัดการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ ซึ่งกำหนดไว้เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549[46] ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนยังได้เรียกร้องให้สมาชิกของคณะกรรมการการเลือกตั้งลาออกจากตำแหน่ง และเมื่อสมาชิกดังกล่าวปฏิเสธ ศาลอาญาจึงได้สั่งจำคุกและปลดคณะกรรมการการเลือกตั้งออกจากตำแหน่ง[47]

[แก้] "แผนฟินแลนด์" และ "ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ"
ดูเพิ่มที่ แผนฟินแลนด์
ก่อนหน้าพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพียงหนึ่งวัน หนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ ผู้จัดการ ได้ตีพิมพ์บทความส่วนหนึ่งเกี่ยวกับ "แผนฟินแลนด์"[48][49][50] ข้อกล่าวหา ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย มีแผนสมคบคิดเพื่อโค่นล่มราชวงศ์จักรีและยึดอำนาจการปกครองประเทศ[51][52] พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคไทยรักไทย ได้ฟ้องต่อนายสนธิ บรรณาธิการ คอลัมนิสต์ และฝ่ายบริหารอีกสองคนในข้อหาหมิ่นประมาท[53]

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน คำกล่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ มีส่วนหนึ่งซึ่งพาดพิงถึง "ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ"[54] จึงทำให้เกิดการคาดเดาไปต่าง ๆ นานา ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ หมายความถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายสนธิจึงกล่าวแก่สาธารณชนให้เลือกว่าจะเข้ากับพระมหากษัตริย์หรือ พ.ต.ท.ทักษิณ[55]

[แก้] กรณีคาร์บอมบ์ สิงหาคม พ.ศ. 2549
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 รถคันหนึ่งซึ่งขนวัตถุระเบิดกว่า 67 กิโลกรัมได้หยุดบริเวณใกล้ที่พักของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในเขตธนบุรี โดยมี ร.ต.ท.ธวัชชัย กลิ่นชะนะ อดีตคนขับรถส่วนตัวของ พล.ต.อ.พัลลภ ปิ่นมณี รักษาการผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เป็นพลขับ โดยการสืบสวนของตำรวจพบว่า รถคนดังกล่าวได้ออกจากสำนักงานใหญ่ของ กอ.รมน. เมื่อเช้าวันเดียวกัน[56]

พล.ต.อ.พัลลัภ ปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว และกล่าวว่า "ถ้าผมทำ นายกฯ หนีไม่พ้นผมหรอก..."[57][58] และกล่าวอ้างว่า "วัตถุระเบิดอยู่ระหว่างการขนส่ง ไม่ได้เก็บรวบรวมมาจุดระเบิด"[57] ในขณะที่ฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาลมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นแผนสมคบคิดของรัฐบาล[59]

ร.ต.ท.ธวัชชัย ถูกจับกุมตัว และ พล.ต.อ.พัลลภ ถูกปลดออกจากตำแหน่งในทันที ในภายหลังได้มีการจับกุมนายทหารเพิ่มอีก 5 นาย เนื่องจากสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง[60] แต่นายทหารสามนาย รวมทั้ง ร.ต.ท.ธวัชชัย ถูกปล่อยตัว ภายหลังการก่อรัฐประหารในเดือนกันยายน[61]

[แก้] เหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2549 และสถานการณ์การเมืองสมัยรัฐบาลทหาร
ดูเพิ่มที่ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549, รัฐบาลชั่วคราว หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

ผู้บัญชาการเหล่าทัพร่วมกันแถลงการณ์ผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นำโดยพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลินได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจากรัฐบาลทักษิณ โดยได้แถลงเหตุผลของรัฐประหารไว้ใน "สมุดปกขาว"[62] สองวันถัดมา กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศยุติการชุมนุมและประกาศว่าภารกิจสำเร็จแล้ว[63]

ภายหลังการก่อรัฐประหาร พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางไปยังกรุงลอนดอน ซึ่งทางด้าน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีชั่วคราว ได้ออกมาเตือนว่าการกลับประเทศของเขาอาจถูกมองว่าเป็น "ภัยคุกคาม" ด้วยเกรงว่าผู้สนับสนุนและผู้ต่อต้านอาจมีการปะทะกันในวันที่ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศ[64]

คณะรัฐประหารยังได้มีการจับกุมนักการเมืองรัฐบาลทักษิณหลายคน คือ พล.ต.อ.ชิตชัย วรรณสถิตย์, นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช, นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งถูกคุมขังยังกองบัญชาการทหารบก[65] นอกจากนี้ ยังได้มีคำสั่งเรียกตัวนายยงยุทธ ติยะไพรัชและนายเนวิน ชิดชอบ[66] ซึ่งทั้งสองได้เข้ารายงานตัวเมื่อวันที่ 21 กันยายน[67][68] และถูกควบคุมตัวไว้ ก่อนที่ทั้งหมด ยกเว้นนายสมชาย จะได้รับการปล่อยตัวภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว[69] เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2549

หลังจากนั้น คณะรัฐประหารเริ่มการสอบสวนข้าราชการซึ่งถูกแต่งตั้งในสมัยรัฐบาลทักษิณ และในการแต่งตั้งนายทหารประจำปี พ.ศ. 2550 นายทหารซึ่งเป็นที่ไว้วางใจของระบอบใหม่ก็ถูกแต่งตั้งแทนที่นายทหารซึ่งภักดีต่อรัฐบาลเก่า[70][71] และเมื่อวันที่ 20 กันยายน คณะรัฐประหารได้ประกาศว่าศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระอื่นซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญฉบับเก่าจะต้องถูกยกเลิกทั้งหมด[ต้องการอ้างอิง] อย่างไรก็ตาม สถานะของจารุวรรณ เมณฑกายังคงไม่เปลี่ยนแปลง[72] และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจเงินแผ่นดินเพื่อตรวจสอบข้อกล่าวหาความไม่ชอบมาพากล[73] รวมทั้งมีตั้งกรรมการขึ้นตรวจสอบรัฐบาลเก่า คือ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ[74]

ในระหว่างนี้ ยังได้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรใช้ปกครองประเทศต่อไป โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จนเสร็จ และได้ให้ประชาชนออกเสียงลงประชามติ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผู้เห็นชอบจำนวน 57.81% พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยบังคับใช้เป็นกฎหมาย เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม

[แก้] การจัดตั้งรัฐบาลสมัคร
ดูเพิ่มที่ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 และ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 ของไทย
จากผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พบว่าพรรคพลังประชาชนได้รับเลือกมากที่สุด คือ 233 ที่นั่ง ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ได้อันดับรองลงมา คือ 165 ที่นั่ง นายสมัคร สุนทรเวชเริ่มวาระดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551 และจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดแรกเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ แต่ก็มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นรัฐบาลตัวแทนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ทันควัน[75]

[แก้] การดื้อแพ่งสมัยรัฐบาลสมัคร
[แก้] พันธมิตร ปะทะ นปช. 2 กันยายน พ.ศ. 2551

สถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีรายงานข่าวการใช้พรก.ฉุกเฉินนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ประกาศใช้ พรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตกรุงเทพมหานคร วันที่ 2 กันยายน สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย รายงานว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ประกาศใช้ พรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากมีกลุ่มบุคคลดำเนินการให้เกิดความวุ่นวาย กระทบความสงบเรียบร้อยต่อประชาชนและความมั่นคงของรัฐ กระทบต่อการพัฒนาประชาธิปไตย จึงต้องแก้ไขปัญหาให้สิ้นสุดโดยเร็ว พร้อมมีคำสั่งนายกรัฐมนตรีให้ผู้บัญชาการทหารบกเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบตาม พรก. จนกว่าสถานการณ์จะสงบ
1.ห้ามมีการชุมนุมตั้งแต่ 5 คนเป็นต้นไป หรือกระทำอันยุยงขัดต่อความสงบ
2.ห้ามเผยแพร่ข้อความให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว จนกระทบความมั่นคงของรัฐ และความสงบทั่วราชอาณาจักร
3.ห้ามใช้เส้นทางคมนาคม ยานพาหนะ ตามที่กำหนด
4.ห้ามใช้อาคารและให้อพยพประชาชนออกจากอาคาร หรือให้ไปอยู่อาคารตามที่กำหนด
5.ให้อพยพออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชน หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้

[แก้] สมัครพ้นจากตำแหน่ง และจัดตั้งรัฐบาลสมชาย
ดูเพิ่มที่ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 58 ของไทย

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ทำพิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ที่บ้านพักวันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง วินิจฉัยให้ นายสมัคร สุนทรเวช พ้นสภาพจากการเป็นนายกรัฐมนตรี ในคดีจัดรายการ ชิมไปบ่นไป และ ยกโขยง 6 โมงเช้า ถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 จนต้องสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรีทันที[ต้องการอ้างอิง]

12 กันยายน 2551 - ได้มีการประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร แต่สส.พรรคพลังประชาชน ไม่เข้าร่วมประชุม จึงไม่ครบองค์ประชุม ต้องเลื่อนออกไป เป็นวันที่ 17 กันยายน 2551
17 กันยายน 2551 - ได้รับการคัดเลือกจากสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยผลการลงคะแนนปรากฏว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ 298 เสียง ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ 163 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ทำให้นายสมชาย ได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ จึงได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย
[แก้] การดื้อแพ่งสมัยรัฐบาลสมชาย
ดูเพิ่มที่ การสลายการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภา 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551, การปิดล้อมท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 และ คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551
เช้ามืดวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนขบวนจากทำเนียบรัฐบาล เข้าปิดล้อมทางเข้าออกรัฐสภา

การแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เริ่มต้นเวลา 09.30 น. ในสภามีการใช้กระแสไฟฟ้าสำรอง หลังจากไฟฟ้าในรัฐสภาถูกตัด และในที่ประชุมก็ปิดแอร์เพื่อประหยัดกระแสไฟฟ้า ในห้องประชุมอุณหภูมิ 28.4 องศา[ต้องการอ้างอิง] สมาชิกบางคนถึงกับถอดเสื้อนอก บางคนใช้พัด เพราะอากาศร้อน แม้จะมีการตัดกระแสไฟฟ้าภายในอาคารรัฐสภาอีกครั้งเมื่อเวลา 12.45 น. แต่สมาชิกก็ยังคงเดินหน้าประชุมต่อไปโดยใช้เครื่องกำเนิดไฟสำรอง[ต้องการอ้างอิง] จนในที่สุด นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี ได้แถลงขอบคุณสมาชิกแทนนายสมชาย จากนั้นนายชัยได้สั่งปิดการประชุมเมื่อเวลา 12.57 น. โดยใช้เวลาการพิจารณานโยบายเพียง 3 ชั่วโมงครึ่ง และมีสมาชิกอภิปรายเพียง 5 คน เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] การจัดตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์
ดูเพิ่มที่ การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ธันวาคม พ.ศ. 2551 และ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 59 ของไทย

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รับสนองพระบรมราชโองการเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย ณ ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์15 ธันวาคม 2551 มีการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อคัดเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยผลการลงคะแนนปรากฏว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ 235 เสียง ส่วนพลตำรวจเอกประชา พรหมนอกได้ 198 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง ทำให้นายอภิสิทธิ์ ได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ จึงได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย
[แก้] การล้มการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก
ได้มีการแนะนำว่า บทความนี้หรือบางส่วนของบทความนี้ควรย้ายไปที่โครงการวิกิข่าว (อภิปราย)
เนื่องจากมีเนื้อหาไม่ตรงตามนโยบายของวิกิพีเดีย แต่อาจเหมาะสมกับโครงการวิกิข่าวมากกว่า


กลุ่มนปช.เข้าบุกโรงแรมรอยัล คลีฟ บีช รีสอร์ทเวลา 13.45 น. วันเสาร์ที่ 11 เมษายนพ.ศ. 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย โดยใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีประกาศพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างร้ายแรง ในพื้นที่เมืองพัทยา และจังหวัดชลบุรี แต่เมื่อเวลา 19.30 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศยกเลิกพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างร้ายแรง ในพื้นที่เมืองพัทยา และจังหวัดชลบุรี เนื่องจากไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ ที่จะประกาศใช้อีกต่อไป

ประกาศใช้พระราชกำหนดในการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล ( บางส่วน )นอกจากนั้น นายกฯยังแต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่แก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉิน โดยให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ กำกับดูแล และเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบแก้ไขสถานการณ์

ได้มีการแนะนำว่า บทความนี้หรือบางส่วนของบทความนี้ควรย้ายไปที่โครงการวิกิซอร์ซ (อภิปราย)
เนื่องจากมีเนื้อหาไม่ตรงตามนโยบายของวิกิพีเดีย แต่อาจเหมาะสมกับโครงการวิกิซอร์ซมากกว่า

คำสั่งนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วนั้น
อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 วรรคสาม และวรรคสี่ และวรรคหก และมาตรา 15 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ บุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 45 และมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
1.ให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบ พนักงานเจ้าหน้าที่และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
2.ให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และให้ข้าราชการตำรวจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือน ตามที่ได้รับมอบหมายเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
3.ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบตามข้อ 2 มีอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ในพระราช กำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงาน เจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
(2) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีหรือผู้กำกับการปฏิบัติงานมอบหมาย
1.ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ให้ข้าราชการทหารช่วยเหลือการ ปฏิบัติงาน เมื่อได้รับการร้องขอจากหัวหน้าที่รับผิดชอบตามข้อ 2 ในการนี้ ให้ข้าราชการทหารตามที่ได้รับมอบหมายเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย
2.ให้ผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

[แก้] เหตุการณ์จลาจลในกรุงเทพมหานคร
ดูบทความหลักที่ เหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552
[แก้] เหตุการณ์ลอบยิงสนธิ
ได้มีการแนะนำว่า บทความนี้หรือบางส่วนของบทความนี้ควรย้ายไปที่โครงการวิกิข่าว (อภิปราย)
เนื่องจากมีเนื้อหาไม่ตรงตามนโยบายของวิกิพีเดีย แต่อาจเหมาะสมกับโครงการวิกิข่าวมากกว่า


บาดแผลถูกยิงที่ขมับขวาและหน้าอกของนายสนธิ และ รถที่ถูกกระสุนยิงเมื่อเวลาประมาณ 05.45 น. วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2552 คนร้ายไม่ทราบจำนวนใช้อาวุธปืนยิงใส่รถยนต์ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่บริเวณปั๊มคาลเท็กซ์ หน้าวัดเอี่ยมวรนุช สี่แยกบางขุนพรหม ใกล้ธนาคารแห่งประเทศไทย

ในที่เกิดเหตุพบรถยนต์โตโยต้า อัลพาร์ด สีดำ ทะเบียน วล 89 กทม.ซึ่งเป็นรถยนต์ของนายสนธิ ถูกยิงด้วยอาวุธปืนสงครามไม่ทราบชนิดจนรถพรุนทั้งคัน โดยกระจกฝั่งคนนั่งข้างคนขับ และกระจกด้านหลังแตกละเอียด ส่วนล้อรถยนต์ทั้ง 4 ล้อถูกยิงจนแบน นอกจากนี้ ในจุดเกิดเหตุพบปลอกกระสุนอาวุธปืนสงครามชนิดอาก้า และเอ็ม 16 ตกอยู่จำนวนกว่า 100 ปลอก ใกล้กันพบรถประจำทาง ขสมก.สีครีม-แดง สาย 53 วิ่งประจำเส้นทางวัดโสมนัส-รอบเมือง ถูกกระสุนลูกหลงจอดอยู่

จากการตรวจสอบผู้บาดเจ็บ คือ นายสนธิมีอาการบาดเจ็บเล็กน้อย เบื้องต้นเจ้าหน้าที่นำส่งโรงพยาบาลวชิรพยาบาล อาการปลอดภัยแล้ว นายอดุลย์ แดงประดับ คนขับอาการสาหัส ส่งโรงพยาบาลมิชชั่น ล่าสุดรายงานว่าอาการปลอดภัยแล้วเช่นกัน รวมทั้งนายวายุภัก มัดสิน อายุ 40 ปี การ์ดรักษาความปลอดภัย ซึ่งนั่งมาด้านหน้ารถยนต์คันดังกล่าวถูกกระสุนปืนได้บาดเจ็บเล็กน้อย โดยส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลมิชชันเช่นกัน

จากการสอบสวนเบื้องต้นทราบว่า นายสนธิและผู้บาดเจ็บอีก 2 ราย ได้เดินทางด้วยรถยนต์คันดังกล่าวออกจากบ้านพักย่านถนนสุโขทัย ตั้งแต่เวลาประมาณ 05.30 น. เพื่อมาจัดรายการกู๊ดมอร์นิ่งไทยแลนด์ ที่สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี ถนนพระอาทิตย์ ในเวลา 06.00 น. ทุกวัน ขณะมาถึงที่เกิดเหตุได้มีรถกระบะ โตโยต้าวีโก้ 2 ประตู สีบรอนซ์ทอง ไม่ทราบทะเบียน ขับมาประกบด้านข้างของรถนายสนธิ จากนั้นมือปืนซึ่งสวมเสื้อสีขาวกางเกงลายพราง สันนิษฐานเบื้องต้นว่าน่าจะเป็นมืออาชีพ ซึ่งนั่งอยู่ด้านหลังของรถกระบะ ได้ยิงปืนใส่ล้อรถนายสนธิเพื่อให้ยางแตกก่อน แล้วกระหน่ำยิงเข้าใส่ตัวรถ จนมีผู้บาดเจ็บดังกล่าว จากนั้นได้ขับรถหนีไป โดยใช้เส้นทางถนนสามเสน มุ่งหน้าไปยังเทเวศร์

ส่วนในที่เกิดเหตุพบปลอกกระสุนตกอยู่นับ 100 นัด เป็นปลอกกระสุนปืนอาก้า ทั้งนี้ พยานระบุว่า คนร้ายสวมเสื้อสีขาวกางเกงลายพรางสันนิษฐานเบื้องต้นว่ามือปืนน่าจะเป็นมืออาชีพ และมุ่งหวังจะเอาชีวิตเป้าหมาย

ปฏิกิริยาของฝ่ายต่าง ๆ หลังเหตุการณ์เกิดขึ้น

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

ประณามการกระทำของกลุ่มคนร้ายที่ลอบสังหารนายสนธิ และขอเรียกร้องให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สั่งการเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องให้เร่งติดตามจับกุมคนร้ายมาลงโทษตามกฎหมายโดยเร็ว เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างในการข่มขู่คุกคามสิทธิเสรีภาพของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนต่อไป รวมทั้งต้องแถลงผลความคืบหน้าของคดีต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยแก่ชีวิตและร่างกายของประชาชน สื่อมวลชน และประชาชนคนไทยโดยส่วนรวมรวมทั้งการแสดงให้เห็นถึงการทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพของสำนักงานตำรวจแห่งชาติอีกด้วย

พันธมิตรฯ

1.เราประณามคนที่ลงมือและคนที่เกี่ยวข้องอยู่เบื้องหลังว่าเป็นพฤติกรรมที่ป่าเถื่อนไร้มนุษยธรรม เราปักใจเชื่อว่าเหตุครั้งมาจากความเกี่ยวข้องทางการเมือง เพราะบทบาทนายสนธิ ได้มายืนแถวหน้าต่อต้านระบอบทักษิณและความไม่ชอบธรรมใดๆ ของการเมืองเก่า

2.พันธมิตรฯยังไม่ปักใจเชื่อว่าใครอยู่เบื้องหลังตัวจริง แต่อยากให้โอกาสรัฐบาลหาตัวผู้กระทำผิด แต่เบื้องต้นเชื่อว่าคนร้ายน่าจะเกี่ยวข้องกับคนในอำนาจรัฐ น่าจะเป็นการปฏิบัติการของคนในเครื่องแบบ เพราะคนทั่วไปไม่น่าจะกล้าลงมือในช่วงที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งการกระทำครั้งนี้เป็นการท้าทายภาวะฉุกเฉินอย่างรุนแรง ตำรวจทหารมีเป็น 100 จุด แต่ปล่อยให้เกิดเหตุ ขฯที่กล้องวงจรปิด เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าใช้ไม่ได้ ซึ่งมักจะเป็นเช่นนี้ทุกครั้งเมื่อพันธมิตรฯ ถูกทำร้าย

3.ขอให้นายกรัฐมนตรีอย่าชะล่าใจ จนทำให้เกิดภาพว่านายกฯ อ่อนแอ ไม่สามารถป้องกันคุ้มกันประชาชนผู้บริสุทธิ์ รัฐบาลต้องหาตัวคนที่เกี่ยวข้องอยู่เบื้องหกลัง และรายงานให้ประชาชนทราบเป็นระยะๆ รวมทั้งนายกฯ ต้องจัดระเบียบหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะตำรวจ ความล้มเหลวที่พัทยา การจลาจลในเมือง สะท้อนว่ากลไกรัฐล้มเหลวในการสนองตอบรัฐบาล

4.เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นภาพสะท้อนระบอบการเมืองเก่า ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราถูกกระทำ ตั้งแต่ช่วงการชุมนุม 193 วัน ที่ทำเนียบ ที่ดอนเมือง ที่เอเอสทีวี รวมทั้งพันธมิตรฯ ในต่างจังหวัดเราถูกกระทำ ทั้งทางตรง และทางอ้อม แต่คดีไม่คืบหน้า และหลายครั้งที่เราถูกข่มขู่คุกคาม เพียงแต่เราไม่ได้แจ้ง แต่ก็มีตลอดเวลา

5.ขอขอบคุณพี่น้องประชาชนที่ให้กำลังใจพวกเรา ขออย่าหวั่นไหว ไม่ว่าเราจะเผชิญหน้ากับอะไรอีก ขอให้อยู่ในที่ตั้ง เราจะรายงานให้พี่น้องทราบเป็นระยะๆ เป็นภาระของแกนนำที่เราจะติดตามรานงาน และนายกต้องรับประกันว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก นอกจากนี้ ถ้าใครมีภาพถ่าย หรือวีดีโอคลิปเหตุการณ์ให้ติดต่อมาที่เอเอสทีวี เพื่อดำเนินการกับคนที่เกี่ยวข้องต่อไป

พ.อ.จิตตสักก์ เจริญสมบัติ โฆษกกระทรวงกลาโหม

เรื่องนี้ต้องรอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นฝ่ายสอบสวนหาข้อเท็จจริง แต่โดยส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะเป็นการการสร้างสถานการณ์ เพราะว่าดูจากภาพที่ปรากฏเป็นข่าว สภาพรถที่โดนกระสุนกราดยิงนั้นมีโอกาสที่จะเสียชีวิต ถ้าเขาสร้างสถานการณ์คงจะไม่คุ้มกับการเอาชีวิตมาแลกแบบนี้ ถือว่า นาย สนธิ ยังโชคดีอยู่ เพราะโดนกราดยิงขนาดนั้น น่าจะเจ็บมากกว่านี้ ซึ่งอาจจะเป็นความต้องการของเขา เพื่อให้ผสมเรื่องราวต่างๆไว้ด้วยกัน แต่ยังไม่อยากให้โยงเข้ากับเรื่องการเมือง ส่วนมาตรการการดูแลบุคคลสำคัญๆของประเทศนั้น มีเจ้าหน้าที่เขาดำเนินการอยู่แล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์นี้เจ้าหน้าก็ทำงานเข้มงวดและรัดกุมอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามคงต้องให้ตำรวจตรวจสอบ เพราะจะไปชี้ชัดว่าเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งคงไม่ได้ อาจจะมีทั้งประเด็นการเมือง ธุรกิจ ความขัดแย้งส่วนตัว หรือหลายอย่างรวมกันก็ได้ต้องรอการพิสูจน์

เทพไท เสนพงศ์ โฆษกส่วนตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

การกระทำต่อคุณสนธิอย่างป่าเถื่อน โหดเหี้ยมทารุณเช่นนี้ เป็นการเหยียบย่ำอารมณ์ความรู้สึก และศักดิ์ศรีของคนเสื้อเหลือง ผมจึงขอประณามการกระทำในลักษณะที่เป็นสุนัขลอบกัดไม่กล้าต่อสู้กับความจริงเป็นสัญชาตญาณโหดผิดวิสัยมนุษย์ธรรมดา ความเคลื่อนไหวของคุณสนธิเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง ถ้าคิดจะต่อสู้และหักล้างก็ควรใช้ความคิดทางการเมืองเช่นเดียวกัน ไม่ควรใช้อาวุธสงครามมาประหัตประหารกัน

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แสดงความห่วงใย พร้อมกำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดูแลเรื่องนี้ โดยเฉพาะเร่งรัดการดำเนินคดี พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไปดูแลความปลอดภัยที่โรงพยาบาลซึ่งนายสนธิรักษาตัวด้วย

สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี

ได้แสดงความห่วงใยต่อเหตุการณ์ดังกล่าว และได้กำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดูแลเรื่องคดีให้เร็วที่สุดด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น