วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กีฬาว่ายนํ้า



ประวัติกีฬาว่ายน้ำ


กีฬาว่ายน้ำ (Swimming) ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะมนุษย์สามารถว่ายน้ำได้ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามชายทะเล แม่น้ำ ลำคลอง และที่ราบลุ่มต่างๆ เช่น พวกเอสซีเรีย อียิปต์ กรีก และโรมัน มีการฝึกหัดว่ายน้ำกันมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล เพราะมีผู้พบภาพวาดเกี่ยวกับการว่ายน้ำในถ้ำบนภูเขาแถบทะเลทรายลิบยาน
การว่ายน้ำในสมัยนั้นเพียงเพื่อให้สามารถว่ายน้ำข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ หรือเมื่อเกิดอุทกภัยน้ำท่วมป่าและที่อยู่อาศัยก็สามารถพาตัวไปในที่น้ำท่วมไม่ถึงได้อย่างปลอดภัย การว่ายน้ำได้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน แต่มีหลักฐานบันทึกไว้ไม่นานนัก Ralph Thomas ให้ชื่อแบบว่ายน้ำที่มนุษย์ใช้ว่ายกันมาตั้งแต่เดิมว่า ฮิวแมน สโตร์ก (Human stroke) นอกจากนี้พวกชนชาติสลาฟและพวกสแกนดิเนเวียรู้จักการว่ายน้ำอีกแบบหนึ่ง โดยใช้เท้าเคลื่อนไหวในน้ำคล้ายกบว่ายน้ำ หรือที่เรียกว่าฟล็อกคิก (Flogkick) แต่วิธีการเคลื่อนไหวของท่าแบบนี้จะทำให้ว่ายน้ำได้ไม่เร็วนัก
การแข่งขันว่ายน้ำครั้งแรกได้จัดขึ้น วูลวิช บาร์ท (Woolwich Baths) ใกล้กับกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2416 การแข่งขันครั้งนั้นมีการแข่งขันเพียงแบบเดียวคือ แบบฟรีสไตล์ (Free style) โดยผู้ว่ายน้ำแต่ละคนจะว่ายแบบใดก็ได้ ในการแข่งขันครั้งนี้ J. Arhur Trudgen เป็นผู้ได้รับชัยชนะ โดยเขาได้ว่ายแบบเดียวกับพวกอินเดียแดงในอเมริกาใต้ คือแบบยกแขนกลับเหนือน้ำ ซึ่งเป็นวิธีการว่ายน้ำของเขาได้กลายเป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากจนได้ชื่อว่า ท่าว่ายน้ำแบบทรัดเจน (Trudgen stroke) ประชาชนชาวโลกได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการว่ายน้ำเพิ่มมากขึ้น เมื่อเรือเอก Mathew Webb ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษจากเมืองโดเวอร์ คาเลียส เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2418 โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 21 ชั่วโมง 45 นาที ด้วยการว่ายแบบกบ (Breast stroke) ข่าวความสำเร็จอันนี้ได้สร้างความพิศวงและตื่นเต้นไปทั่วโลก ต่อมาเด็กชาวอเมริกันชื่อ Gertude Ederle ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2469 ทำเวลาได้ 14 ชั่วโมง 31 นาที โดยว่ายน้ำแบบท่าวัดวา (Crawa stroke) จะเห็นได้ว่าในชั่วระยะเวลา 50 ปี
การว่ายน้ำได้วิวัฒนาการก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก ถ้าหากได้พิจารณาถึงเวลาของคนทั้งสองที่ทำได้ แบบและวิธีว่ายน้ำได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความเร็วขึ้นเสมอ ในบรรดานักว่ายน้ำทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวแลนเคเชียร ์และออสเตรเลีย ได้ดัดแปลงวิธีว่ายน้ำแบบทรัดเจน ซึ่งก็ได้รับผลดีในเวลาต่อมา กล่าวคือ Barney Kieran ชาวออสเตรเลียและ T. S. Battersby ชาวอังกฤษ ได้ว่ายน้ำแบบที่ปรับปรุงมาจากทรัดเจน เป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2449-2415 Alex Wickham ชาวเกาะโซโลมอนเป็นผู้ริเริ่มการว่ายน้ำแบบท่าวัดวาและเป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลก ระยะทาง 50 หลา เขาได้กล่าวว่าเด็กโซโลมอนทุกคนว่ายน้ำแบบนี้ทั้งนั้น ต่อมาท่าว่ายน้ำแบบวัดวาจึงเป็นที่นิยมฝึกหัดกันโดยทั่วไป กีฬาว่ายน้ำได้จัดเข้าไว้ในการแข่งขันโอลิมปิกเมื่อปี พ.ศ. 2436 และได้จัดการแข่งขันมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุดังกล่าวกีฬาว่ายน้ำก็ได้รับความสนใจจากคนทั่วไป และถือเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก มีการพัฒนากีฬาว่ายน้ำให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเป็นลำดับ โดยมีผู้คิดแบบและประเภทของการว่ายน้ำเพื่อความสนุกสนาน และความตื่นเต้นในการแข่งขันมากขึ้น





ประวัติว่ายน้ำในประเทศไทย
สมาคมว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้จดทะเบียนสมาคมต่อกรมตำรวจเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ผู้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมว่ายน้ำฯคนแรกคือ พลเรือโท สวัสดิ์ ภูติอนันต์ ร.น. ในปีเดียวกันนี้สมาคมว่ายน้ำฯได้เข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ

ในปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้อนุมัติเงินงบประมาณจำนวน 10 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างสระว่ายน้ำมาตรฐานขนาดความยาว 50 เมตร กว้าง 25 เมตร พร้อมทั้งที่กระโดดน้ำ และอัฒจันทร์คนดูจำนวน 5,000 ที่นั่ง ณ บริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ และเปิดใช้ในการแข่งขัน เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2506 เรียกว่า สระว่ายน้ำโอลิมปิก (ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นสระว่ายน้ำวิสุทธารามย์) และสมาคมว่ายน้ำฯได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์ว่ายน้ำแห่งเอเชียในปี พ.ศ. 2509

ปัจจุบันกีฬาว่ายน้ำได้รับความสนใจจากประชาชนโดยทั่วไปอย่างกว้างขาวง ประกอบกับกระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุกีฬาว่ายน้ำไว้ในหลักสูตรเกือบทุกระดับ โดยในปัจจุบันมีจำนวนสโมสรที่เป็นสมาชิกของสมาคมว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทยถึง 56 สโมสร


กฏกติกากีฬาว่ายน้ำ กติกาการว่ายน้ำ กฏกติกาของกีฬาว่ายน้ำ

การตัดสิน
ลำดับที่ผู้แข่งขันทุกคนจะกำหนดโดยการเปรียบเทียบเวลาที่เป็นทางการของแต่ละคนถ้าเวลาทางการเท่ากันหลายๆ คน ก็ให้ลำดับที่เท่ากันในรายการนั้นๆ ได้
*ผู้ควบคุมการแข่งขัน
ผู้ตัดสินชี้ขาด 1 คน
กรรมการดูฟาวล์ 4 คน
ผู้ปล่อยตัว 2 คน
หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ) 2 คน
กรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ) 2 คน
หัวหน้าผู้บันทึก 1 คน
ผู้บันทึก 1 คน
ผู้รับรายงานตัว 2 คน
กรรมการเชือกฟาวล์ 1 คน
ผู้ประกาศ 1 คน
จากการแข่งขันไม่สามารถใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติได้ จะต้องมีการแต่ตั้งกรรมการเจ้าหน้าที่
เพิ่มขึ้น คือ
หัวหน้าผู้จับเวลา 1 คน
ผู้จับเวลาลู่ละ 3 คน
(กรรมการจับเวลาสำรอง 2 คน)
หัวหน้าเส้นชัย 1 คน
กรรมการเส้นชัย (อย่างน้อย) 1 คน
* หน้าที่
- ผู้ตัดสินชี้ขาด เป็นผู้ควบคุมและมีอำนาจสูงที่สุด โดยจะมอบหมายหน้าที่ และให้คำชี้แนะกับเจ้าหน้าที่ต่างๆ จะต้องตัดสินปัญหาทุกชนิดการตัดสินขั้นสุดท้ายถือเป็นสิ้นสุดไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
- ผู้ปล่อยตัว มีอำนาจควบคุมการแข่งขันอย่างเต็มที่ เมื่อได้รับสัญญาณมือจากผู้ตัดสินชี้ขาด การปล่อยตัวแต่ละรายการผู้ปล่อยตัวจะอยู่หางจากสระ 5 เมตร
- ผู้รับรายงานตัว ต้องเตรียมกรอกรายชื่อนักว่ายน้ำลงในแบบฟอร์มแต่ละรายการก่อนการแข่งขัน
- หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว ดูแลว่าเจ้าหน้าที่ดูการกลับตัวทุกคน ทำหน้าที่ในการแข่งขันเป็นอย่างดี เมื่อพบเห็นว่ามีการทำผิดกติกาจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินชี้ขาดทราบทันที่
- กรรมการดูการกลับตัว ต้องดูแลและเตือนเมื่อนักว่ายน้ำในลู่ของตนว่ายเข้ามาเหลือระยะทางอีก 5 เมตร
- กรรมการดูการฟาวล์ ต้องเป็นผู้เข้าใจในกติกาเป็นอย่างดี และจะต้องช่วยดูการกลับตัวจากผู้ช่วยกรรมการกลับตัว และจะต้องทำการบันทึกการทำผิดกติกาของแต่ละลู่ ให้ต่อผู้ตัดสินชี้ขาด
- หัวหน้าผู้จับเวลา ต้องเก็บรวบรวมแบบฟอร์มบันทึกเวลาของกรรมการจับเวลาทุกคน ในกรณีที่นาฬิกาจับเวลาไม่สามารถจับเวลาได้ หัวหน้าผู้จับเวลาอาจทำการตรวจสอบนาฬิกาเรือนนั้น
- กรรมการจับเวลา นาฬิกา แต่ละเรือนจะต้องได้รับจากคณะกรรมการดำเนินการแข่งขัน จะต้องเดินเวลาเมื่อมีสัญญาณเริ่ม และต้องหยุดเวลาเมื่อผู้เข้าแข่งขันในลู่ว่ายของเขาได้สิ้นสุดการว่ายที่สมบูรณ์
- หัวหน้ากรรมการเส้นชัย เป็นผู้มอบหมายให้กรรมการเส้นชัยแต่ละคนอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ และกรรมการเส้นชัยจะรวบรวมข้อมูลลำดับที่ให้หัวหน้ากรรมการเส้นชัย หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะต้องนำส่งผลต่อผู้ตัดสินชี้ขาด และจะต้องบันทึกข้อมูลการแข่งขันที่ใบบันทึกด้วยเครื่องอัตโนมัติ ภายหลังการแข่งขันแต่ละรายการสิ้นสุด
- กรรมการเส้นชัย มีหน้าที่กดปุ่มสัญญาณเท่านั้นจะต้องไม่ทำหน้าที่ก้าวก่ายการจับเวลาในรายการเดียวกัน
- เจ้าหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน รับผิดชอบตรวจสอบผลการแข่งขัน กรรมการทุกคนจะต้องตัดสินใจด้วยตัวของตัวเอง นอกเสียจากว่าปัญหานั้นๆ กติกาได้บอกไว้อย่างชัดเจนแล้ว
* การจับเวลา
- ให้มีจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง
- ถ้านาฬิกาจับเวลา 2 ใน 3 เรือน เท่ากันให้ใช้การจับเวลานั้น
- ถ้านาฬิกาทั้ง 3 เรือนนั้น ไม่ตรงกัน ให้ใช้เวลาของนาฬิกาที่เป็นเวลาที่เป็นทางการ
ท่ากรรเชียง
Backstroke

การว่ายท่ากรรเชียงเป็นท่าว่ายที่สวยที่สุด การว่ายกรรเชียงมีประโยชน์ที่จะยืดกล้ามเนื้อ การว่ายกรรเชียง มีหลักเกณฑ์คล้าย ๆ กับการว่ายท่าฟรีสไตล์ ์แตกต่างที่ท่ากรรเชียงเป็นการหงายตัวราบกับระดับน้ำ แต่การว่าย
ฟรีสไตล์เป็นการคว่ำตัว และการวางมือหรือผลักน้ำที่เหมาะมือเป็นอัจฉริยะของนักว่ายน้ำ
การเรียนรู้ข้อผิดพลาดในการว่ายกรรเชียง ต้องพยายามศึกษาขณะปฏิบัติในน้ำ การยกหัวสูงเกิน, การดันมือไปที่ตะโพกและการนอนหงายเหมือนเรือท้องแบนเป็นการต้านน้ำโดยแผ่นหลัง
เมื่อดูจากรูปภาพด้านล่างนี้จะเห็นการเคลื่อนไหวของการว่ายกรรเชียงต้องวางศรีษะให้ต่ำและยกสะโพก
ให้ใกล้พื้นผิวน้ำ


ต่อไปนี้เป็นการแนะนำการว่ายกรรเชียง ( อย่างย่อ ) การเรียนรู้ด้วยตนเอง การว่ายและเรียนรู้ใช้ความคิด
ด้วยตัวคุณจะพัฒนาทักษะการว่ายโดยธรรมชาติด้วยตัวเองของคุณ และส่วนสำคัญอย่างมากคือการลื่นไหล
และการต้านของน้ำ
1.ให้น้ำดันตัวคุณขึ้น- คุณต้องไว้ใจมันที่จะทำให้ตัวคุณลอย
2 ยืดตัวยาวขนานกับพื้นน้ำและน้ำอยู่ระหว่างซี่โครงของคุณ และผลักมือให้ลำตัวเคลื่อน
3.วางหัวให้ไปด้านหลัง และยึดคอโดยไม่หันหน้าซ้ายขวา
4.ทำตัวสบาย ๆ ผ่อนคลาย ไม่ใช่แข็งเหมือนท่อนไม้
5.เคลื่อนตัวขนานกับน้ำ
6.ยกตะโพกของคุณ ขึ้นข้างบน
7.เตะขาขึ้นลงอย่างถูกต้อง
8.หมุนสะโพกของคุณ ตามจังหวะการว่าย
9.การเตะเท้าอย่าให้เข่าและเท้าอยู่เหนือผิวน้ำ
10.ขณะเริ่มออกตัวให้จัดลำตัวให้ตรง
11.เหยียดแขนให้ตรงขณะที่ออกมาจากน้ำ
12.ทำแขนโค้งงอดึงใต้น้ำ
13.เมื่อถึงธงต้องนับจำนวนแขนของคุณ จากธงถึงกำแพง หากหัวชนกำแพงจะได้รับบาดเจ็บ

กีฬาว่ายน้ำในโอลิมปิก
กีฬาว่ายน้ำในโอลิมปิก (อังกฤษ: Swimming) ได้รับการยอมรับบรรจุเป็นกีฬาที่แข่งขันในโอลิมปิกสมัยใหม่ครั้งแรกในปี 1896 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ โดยในระยะแรกมีเพียงการแข่งขันประเภทชาย เปิดโอกาสให้นักกีฬาว่ายน้ำใช้ท่าอะไรก็ได้ แต่ผลปรากฏว่า คนที่ได้รับชัยชนะคราวนั้นคือคนที่ใช้ท่าทรัดเจิ้น ในปี 1900 ที่กรุงปารีส ประเทสฝรั่งเศส คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้เพิ่มการว่ายน้ำท่ากรรเชียงเข้าไปอีก 1 รายการ ต่อมาปี 1908 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จึงเพิ่มท่ากบ และไม่นานนักท่าผีเสื้อจึงตามมาเป็นท่าสุดท้าย

อย่างไรก็ตาม ในสมัยนั้นการจัดการแข่งขันยังไม่ค่อยเข้าที่เข้าทาง การแข่งขันที่กรุงเอเธนส์ นักว่ายน้ำยังต้องใช้วิธีออกสตาร์ตด้วยการกระโดดจากบนเรือลงไปในน้ำท่เย็นจัดราวกับน้ำแข็งของทะเลเมดิเตอร์รเนียน แถมยังมีคลื่นอีกด้วย ดังนันผู้ที่จะเข้าแข่งต้องคิดถึงความแข็งแกร่งทนทานของตนเองว่ามีเพียงพอหรือไม่ที่จะเอาชีวิตให้รอดเสียก่อน จึงจะคิดเรื่องเอาชนะ

ปี 1900 โอลิมปิกที่กรุงปารีสนั้น มีการแข่งขันว่ายใต้น้ำ รวมทั้งการว่ายน้ำผ่านเครื่องกีดขวางอีกด้วย อีก 4 ปีต่อมาที่เมืองเซนตหลุยส์ สหรัฐอเมริกา มีการแข่งดำน้ำระยะไกล (Plunge for distance) ซึ่งรายการเหล่านั้นไม่ได้รับความนิยม เพราะผู้ชมจะไม่เห็นอะไรเลลยนอกจากน้ำในขณะที่นักว่ายน้ำดำน้ำอยู่ ทำให้ถูกยกเลิกไป ส่วนการแข่งขันว่ายน้ำประเภทหญิง เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในโอลิมมปิกปี 1912 ที่กรุงสต๊อคโฮล์ม ประเทศสวีเดน

นับตั้งแต่โอลิมปิกครั้งที่ 3 ที่เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯก็ครองความเป็นจ้าวกีฬาชนิดนี้มาโดยตลอด ในปัจจุบันการแข่งขันว่ายน้ำโอลิมปิกทั้งประเภทชายและหญิงนั้น นักว่ายน้ำจากสหรัฐฯ และออสเตรเลียนับว่าอยู่แถวหน้าเหนือชาติอื่นๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น